เกี่ยวกับคณะ

ประวัติความเป็นมา

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดสอนระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2523 เพื่อเป็นการขยายการบริการการศึกษาให้แก่ผู้เรียนที่มีความประสงค์จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสาขามนุษยศาสตร์ โดยในระยะเริ่มแรกได้เปิดสอนสาขาวิชาภาษาอังกฤษและสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ต่อมาได้มีการขยายการดำเนินงานของคณะวิชาให้มีความก้าวหน้า โดยพัฒนาหลักสูตรใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี 9 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพและการสื่อสารนานาชาติ (English for Professional and International Communication)
2.
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น (Japanese)
3
. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai Language)
4.
สาขาวิชาภาษาจีน (Chinese)
5.
สาขาวิชาศิลปะและธุรกิจการแสดง (Performing Arts)
6.
สาขาวิชาเกาหลี (Korean)
7.
สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อผู้ประกอบการและ Chinese (in the Field of Business) 2+2
8.
สาขาวิชาสหวิทยาการ
9.
สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ (สองภาษา) Business English (Bilingual Program)

พุทธศักราช 2566

ยุบหลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษและการแปล (English and Translation)

พุทธศักราช 2563
คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ เปลี่ยนชื่อเป็น : คณะมนุษยศาสตร์

พุทธศักราช 2562
ยุบหลักสูตรสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา (Information Studies)

พุทธศักราช 2560
จากเดิมคณะฯ มี 12 สาขาวิชา ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร มีสาขาวิชาที่ได้แยกออกไปอยู่กับคณะใหม่ของมหาวิทยาลัย 3 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชาการท่องเที่ยว (Tourism)
2. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน (Airline Business Management)
3. สาขาวิชาการจัดการประชุม นิทรรศการ และ กิจกรรมพิเศษ (Convention Exhibition and Event Management)

เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรีใบที่สอง 3 หลักสูตร คือ

1.หลักสูตรภาษาจีน
2.หลักสูตรภาษาญีปุ่น
3.หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพและการสื่อสารนานาชาติ

นอกจากนี้คณะมนุษยศาสตร์ยังมี สาขาวิชาการศึกษาทั่วไป และสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ เพื่อบริการการสอนรายวิชาในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ และกลุ่มวิชาภาษาให้แก่ทุกคณะวิชาฯ

วิสัยทัศน์

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นผู้นำด้านภาษาเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

พันธกิจ

1. คณะมนุษยศาสตร์ผลิตบัณฑิตที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานภาคธุรกิจมีความสามารถโดดเด่นด้านภาษาเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ เป็นนักคิดและนักปฏิบัติ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เป็น ผู้มีจริยธรรมรักและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย
2. คณะมนุษยศาสตร์พัฒนาศักยภาพการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
3. คณาจารย์ของคณะมนุษยศาสตร์มีผลงานวิชาการและการวิจัยที่มีคุณภาพสูง
4. คณะมนุษยศาสตร์มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
5. คณะมนุษยศาสตร์เป็นแหล่งบริการวิชาการชั้นนำด้านภาษาเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

ปณิธาน

เข้มแข็งทางวิชาการ งดงามด้านจริยธรรม เป็นผู้นำแห่งภาษาเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

ปรัชญา

คณะมนุษยศาสตร์จัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นคุณภาพด้านวิชาการ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถออกไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรู้ความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ รู้จักคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีจริยธรรมในวิชาชีพและมีจิตสำนึกที่ดีงามต่อสังคม พัฒนาคณาจารย์ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ รวมทั้งมุ่งบริการวิชาการเพื่อแสดงศักยภาพความเป็นผู้นำแห่งภาษาเพื่อการสื่อสารธุรกิจ

ผู้บริหารคณะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ เกิดอรุณสุขศรี

ตำแหน่ง: คณบดี
อีเมล์: [email protected]
ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 9
วุฒิการศึกษา

ปริญญาเอก

-Ph.D. (Thai Drama) SOAS, University of London, U.K.
ปริญญาโท
-อ.ม. (วรรณคดีเปรียบเทียบ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาตรี
-ศศ.บ. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ ดร.ปาจรีย์ หวังรุ่งกิจ

ตำแหน่ง: รองคณบดีฝ่ายบริหาร
อีเมล์: [email protected]
ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 9
วุฒิการศึกษา

ปริญญาเอก
-ปร.ด. จิตวิทยาประยุกต์ (จิตวิทยาการเรียนรู้) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปริญญาโท
-ศศ.ม. จิตวิทยา (จิตวิทยาพัฒนาการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาตรี
-ค.บ.(เกียรตินิยมอันดับ 1) จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว การศึกษานอกระบบโรงเรียน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์นิภาพรรณ สิงหพันธุ์

อาจารย์นิภาพรรณ สิงหพันธุ์

ตำแหน่ง: รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
อีเมล์: [email protected]
ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 9
วุฒิการศึกษา

ปริญญาโท
– M.A. (Marketing) Webster University, St. Louis, Missouri, USA

ปริญญาตรี
– B.A. (English) Srinakharinwirot University Patumwan, Bangkok, Thailand

Aj.kittipong66

อาจารย์ ดร.กิตติพงษ์ อินทรัศมี

ตำแหน่ง: รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
อีเมล์: [email protected]
ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 9
วุฒิการศึกษา

ปริญญาเอก

-ศศ.ด (นาฏยศิลป์ไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาโท

-อ.ม.(ศิลปการละคร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาตรี

-ศศ.บ.(ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Aj-jittima2566

อาจารย์ ดร.จิตติมา เสงี่ยมจิตร์

ตำแหน่ง: ประธานฝ่ายวิเทศ
อีเมล์: [email protected]
ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 9
วุฒิการศึกษา

-Ph.D. (Applied Linguistics and Modern Language Teaching) (ELT) University of Southampton, Southampton, UK

-M.A. (Business English for International Communication) Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand

-B.A.(English) Thaksin University, Songkhla, Thailand”

Janjira_jan

นางสาวจันจิรา จันทรานุสรณ์

ตำแหน่ง: เลขานุการคณะ
อีเมล์: [email protected]
ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 9 ห้อง 13

วุฒิการศึกษา :

ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต(ประมง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โทร.6404

เครือข่ายพันธมิตร

Guangxi university for nationalities
Lijiang college of guangxi normal university
Wenshan university
Nanjing normal university
Guangxi normal university
Via university college
kwassui women’s university
Myongji university
Universiti pendidikan sultan idris
Hankuk university of foreign studies
Beihua university ,faculty of humanities

ผลงานวิจัย

1. วัฒนธรรมทางปัญญาว่าด้วยวิธีการของปรัชญา
– สรายุทธ เลิศปัจฉิมนันท์
– วารสาร ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กค.-ธค.60 (บทความวิชาการ)

2. ชูชก : จากชาดกสู่งามศิลปะ
– จักริน จุลพรหม
– วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2560, 140-153.(บทความวิชาการ)

3. บัว: ความหมายเชิงเปรียบในบทเพลงของสุนทราภรณ์
– สุนันท์ ภัคภานนท์
– วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2560, 139-151.(บทความวิชาการ)

4. ไวยากรณ์กับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทการศึกษาไทย
– พรพรรณ บุญพัฒนาภรณ์
– วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2560, 152-169.(บทความวิชาการ)

5. การปรับเปลี่ยนรูปแบบและความหมายของสัญลักษณ์มงคลจากสมัยทวารวดีสู่สมัยรัตนโกสินทร์
– จักริน จุลพรหม และ อาสา ทองธรรมชาติ
– วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2560, 108-124. (บทความวิจัย)

6. The interpersonal metafunction and translation of power relations: a case study of fifty shades of grey
– Pasakara Chueasuai
– Manusya, Vol 23, 2017

7. experiencing Thai Student Voice from a Teacher’s Perspective
– Catto, A., Burns
– English Australia Journal, Vol. 32, No. 2, 2017, pp. 34-50

8. Social Intelligence and Communication Competence: Predictors of Students’ Intercultural Sensitivity
– Takwa Bosuwon
– English Language Teaching; Vol. 10, No. 2, 2017, pp.136-149

9. The Origin of the Belief on the Kew Hong Tai Tay of Thailand and the Communication and Status- quo of the Folk Culture
– Jessada Ninsa-nguandecha
– Journal of world confederation of institutes and libraries for Chinese oversea studies Vol.4,No.1, 2017,pp 218-236

10. ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
– สุรีย์วรรณ เสถียรสุคนธ์
– Proceedings on International Conference on Synergy and Development of Learning and Teaching of Thai Language in Asia-Pacific Region, 8-9 January 2018

11. การศึกษาวิเคราะห์ภาพล้อสังคมไทยในสื่อออนไลน์
– สุวรรณา งามเหลือ
– วารสารวิจัยมข. ฉบับ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มค.-เมย.2559

12. การพัฒนาตัวชี้วัดในการประเมินและพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่กรุงเทพมหานคร
– อุสา สุทธิสาคร
– วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 , 2559

13. ลักษณะเด่นของร้อยกรองการเมืองในช่วง พ.ศ. 2550-2555
– ปรมาภรณ์ ลิมป์เลิศเสถียร
– วารสาร มกค ปีที่ 36 ฉ.1 มกราคม-มีนาคม 2559 (บทความวิจัย)

14. ตรรกะในคณิตศาสตร์ไทยโบราณ
– รศ.จริยา นวลนิรันดร์
– วารสาร มกค ปีที่ 36 ฉ.3 กรกฎาคม-กันยายน 2559.

15. กระบวนการมีส่วนร่วมในการสืบทอดพิธีอัญเชิญพระกิวหองไต่เตออกแห่รอบเมือง
– เจษฎา นิลสงวนเดชะ
– วารสาร มกค ปีที่ 36 ฉ.3 กรกฎาคม-กันยายน 2559

16. การแปลความสัมพันธ์เชิงอำนาจ: กรณีศึกษานวนิยายเรื่อง Fifty Shades of Grey
– ภาสกร เชื้อสวย
– วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559, 34-52.

17. อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม โดยมีความร่วมรู้สึกเป็นตัวแปรส่งผ่านในระดับอุดมศึกษา
– ดุลยา จิตตะยโศธร
– วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2559

18. Rhetorical Structure of Marketing Research Articles for Academic Writing
– Dujsik, Darunee
– Rangsit Journal of Educational Studies (January-June 2016)

19. Examining the Two Versions of the Judgement’s Chinese Translation: A comparative study
– Burin Srisomthawin
– Chinese Studies Journal, Kasetsart University, Vol.9, October-December. 2016, 91-183.

20. จากภูมิปัญญาลวดลายผ้าทอพื้นเมืองสู่ธุรกิจ SME
– ขนิษฐา จิตชินะกุล
– วารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2559

21. นาฎกรรมล้อ : การล้อเลียน การเสียดสี และการสร้างอารมณ์ขันในแก้วหน้าม้า Parodic Theatre : Mimicking, Satirising and Comic-Making in Kaew Na Ma (The Dog Face)
– กิตติศักดิ์ เกิดอรุณสุขศรี
– วารสารวิชาการดนตรีและการแสดงคณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำฉบับที่ 1 ปีที่ 2 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2559 (บทความ)

22. บทความเรื่อง The Correspondence Regularity of Minnan Dialect and Thai Phonetics : Taking “The Three Kingdoms” as an Example (泰国潮州音闽南语与泰语语音对应规律——以《三国演义》为例)
– จุรี สุชนวนิช
– การประชุมวิชาการ The 17th National Symposium on Modern Chinese Studies and the International Symposium on the Evolution of MinDialect (第十七届全国近代汉语学术研讨会暨闽语演变国际学术讨论会)ในวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2559 ณ ประเทศไต้หวัน

23. Translating Power Relations in Fifty Shades of Grays
– ภาสกร เชื้อสวย
– In the 43rd International Systematic Functional Linguistics Congress (ISFC2016) Universitas Pendidikan Indonesia, Bandung, 19th-23rd July 2016.

24. เพลงพื้นบ้านภาคกลางสมบัติภูมิปัญญาในวิถีวัฒนธรรมไทย
– บัวผัน สุพรรณยศ
– ในการประชุมวิชาการทางวัฒนธรรมแห่งชาติ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ ตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความวิจัยวัฒนธรรม ครั้งที่ 5

25. Chomphuchart, N. (2017). Thai university students’ attitudes toward the use of the Internet in learning English, Rangsit Journal of Educational Studies (RJES), 4, 13-30.
-ณุวีร์  ชมพูชาติ

26. Chomphuchart, N. (2017). The use of the Internet in learning English among Thai English majors and non-English majors. Journal of Teaching and Education, 07, 81-88.
-ณุวีร์  ชมพูชาติ

27. Chomphuchart, N. (2017). Student perceptions of ICT and Multiliteracies, Proceedings of the 7th Conference of Faculty of Education Rangsit University, February 25, 2017, 89-111.
-ณุวีร์  ชมพูชาติ

28. Chomphuchart, N. (2015). Thai EFL business majors’ Metacognitive awareness when reading online texts. University of the Thai Chamber of Commerce Journal. 35, 182-209.
-ณุวีร์  ชมพูชาติ

29. Chompuchart, N. & Ikpeze, C. (2015). From literacy to multi-literacies: Thai ESL graduate students’ perception of learning English using digital technology in the U.S. Rangsit Journal of Educational Studies (RJES), 2, 26-40.
-ณุวีร์  ชมพูชาติ